Support
KasetTech.com
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
###### No Permission ######
###### No Permission ######
guest

Post : 2014-08-05 12:49:57.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  Solar charger PWM (alpha version)

รอไม่ไหว กว่าจะทำระบบชาร์แบบ MPPT เสร็จ นานไปเลยขอทำ PWM ก่อนละกันง่ายดี

ใช้เวลาทำประมาณ 2 อาทิตย์ วันนี้คลอดแล้ว PWM alpha phase

มาดูหน้าตากัน

 

 

 

 

เดียวเอาไปลองกับ โซล่า 280W แบต 12V 2 ก้อน ได้ผลยังไงจะมาแจ้งทราบอีกทีนะครับ ^^!

Spec

Input voltage :DC 12-60V

Input current: 30A

BATT: 12-24V

Output current: 30A

ON/OFF output function  (30A)

LED display 

 

 

 

guest

Post : 2014-06-16 10:04:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรงเรือนน้อยๆบนระเบียง

วันนี้มีโปรเจ็คเล็กๆมานำเสนอ ใครที่ชอบปลูกต้นไม้บนระเบียง ลองเอาแนวคิวไปลองทำดูนะครับ

ผมเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ วันหนึงเกิดนึกอยากปลูกต้นมะเดื่อขึ้นมา ปลูกไว้หลายต้นในสวน กำลังงามแข่งกันแตกใบอ่อน แต่แล้ว

เจ้าตูบตัวดีอยากมีสุขภาพดีกะเค้า เลยแอบมากินใบมะเดื่อซะงั้น
คนปลูกเศร้าใจ อุตสาเฝ้าทนุถนอมมา...
ต้นมะเดือตายไปหลายต้น รอดคมเคียวเจ้าตูบมาแค่ 1 ต้นเลยเลิกปลูกไปพักใหญ่ๆ

ต้นแรกที่รอดครับงามถูกใจแต่ไม่เคยเห็นผล... รอกันต่อไป

สายพันธุ์ cornadia ครับ

 

ยังคับยัง ยังไม่หมดความตั้งใจ เลยสั่งมาอีกรอบแค่คิดไปคิดมา
ถ้าปลูกที่เดิมมีหวังเสร็จน้องตูบอีกแน่ คราวนี้เลยย้ายมาปลูกบนระเบียง อ่ะ....ฝนตก ต้องมีหลังคาด้วย
เอาแบบนี้ละกันบ้านๆเลย 

 

ผ่านมา 2 อาทิตย์คิดอยากโมดิฟายโรงเรือนให้มันดูสวยงามขึ้นมาหน่อย เลยสวมวินญาณ นักออกแบบวาดๆๆๆๆ ลองอยู่หลายวัน

ในที่สุดได้มา 1 แบบ เอาแบบนี้แหละน่าจะสร้างง่าย
วัดเสาร์ขับรถไป โฮมโปร ซื้ออุปกรณ์มามานั่งทำ
เริ่มจากเป็นท่อนๆแบบนี้


 

วัดๆ แล้วก็ตัดๆๆๆๆๆๆใช้เวลา 2 ชม.
ออกมาหน้าตาแบบนี้เอาพลาสติกใสเก่า(รีไซเคิลกะเขาหน่อย)มาคลุม เอาเชื้อกมัดๆๆไว้ก่อนรอ ตัวเย็บกับพลาสติกใสมาแล้วจะเนรมิตรให้ดูดีกว่านี้ เสร็จเมื่อไหร่จะมารายงายผลอีdที่นะครับ
 

งบประมาณ 1500 บาท 

มีต้นมะเดื่อที่ลองเพาะเมล็ดมาให้ดูเล่นด้วยคับ จาก 40 ต้นรอดจากเจ้าตูบไม่ถึง 10 ต้น

 

 

 

 

เพาะใหม่รอดไม่มาก มาดูกันเลยครับ

เริ่มจากพันธุ์ BURSA BLACK FIG รอดมา 1 ต้น


 

พันธุ์Calimyrna Figs ได้มา 11 ต้น (กระถาง 8 อยู่ในกล่องพลาสติกใส่อีก 3 ต้น)


 

พันธุ์Italian Black ได้มา 2 ต้น

guest

Post : 2014-03-27 11:45:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  Solar cell กับ ระบบ MPPT

MPPT คืออะไร

MPPT ย่อมาจาก Maximum Power Point Tracking หรือที่เข้าใจง่ายๆคือ จุดที่ทำให้ได้พลังงานมากที่สุด
แล้วจุดไหนล่ะ ที่ให้พลังงานมากที่สุด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจตัวแปรของสิ่งที่เราจะใช้งานก่อน ใน บทความนี้ขอกล่าวถึงระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซล
หากเราดูที่คุณสมบัติของโซล่าเซลจะพบค่ากระแสและแรงดันดังนี้
Peak Power Output (W)  100W ==> กำลังไฟฟาสูงสุด
Maximum Power Voltage (V) 17.5V ==> แรงดันไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟสูงสุด เอาไปใช้ในการหา MPPT
Maximum Power Current (A) 5.72A ==> กระแสไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟสูงสุด เอาไปใช้ในการหา MPPT
Short Circuit Current(A)  6.30A ==> กระแสไฟฟ้าสูงสุด เมื่อเอา+ กับ - แตะกัน ไม่ควรทำนะครับ
Open Circuit Voltage(V) 21.5V ==> แรงดันไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟสูงสุด เมื่อไม่ต่อโหลด

ค่า 100W =17.5V * 5.72A จุดนี้เองที่เราจะเอาไปทำระบบ MPPT

หลักการทำงานของ Maximum Power Point Tracking

หลักการสำคัญของระบบ MPPT คือ วิธีการที่ทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์จ่ายพลังงานให้ได้มากที่สุด หรือ โดยการทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทำงานที่แรงดันไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
MPPT ทำงานโดยการตรวจสอบที่เอาท์พุตของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และเปรียบเทียบกับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ในระบบ จากนั้นกำหนดค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถจ่ายออกเพื่อทำการประจุลงในแบตเตอรี่ และทำการแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าสูงสุดเพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าสูงสุดในการประจุแบตเตอรี่ ทำให้การสูญเสียพลังงานน้อยลง

ยกตัวอย่างคราวๆนะครับของจริงมีตัวแปรเยอะเดี๋ยวงง
ใช้แผง 100W ใช้งานตอนเช้ากระแสที่จ่ายได้สูงสุด สมมุติว่าได้ 2A ที่ แรงดัน 17.5V (5.72A คือค่าที่วัดได้ตอนเที่ยง) และ 3A เมื่อ Short Circuit หากใช้ ตัวชาร์จแบต แบบ PWM ค่ากระแสสูงสุดที่จ่ายได้ คือ 2A ไม่ว่าแบตเตอรี่จะมีแรงดันต่ำหรือสูง
(10.5V - 14.5V) สมมุติว่าแบตเตอรี่มีแรงดัน 10.5V ค่าพลังงานสูงสุดที่จ่ายได้เท่ากับ 10.5V * 2A = 21W แต่ถ้าเป็น ระบบ MPPT ตัวชาร์จแบตจะทำการแปลงไฟจาก 17.5V ไปเป็น 10.5V ด้วยระบบ Switching (หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ) ทำให้ได้กระแสเพิ่มเป็น 2.6A หรือ 10.5 * 2.6 = 27.3W(คิดที่ค่าประสิทธิภาพในการแปลงที่ 80%, 17.5 * 2 * 0.8 /10.5 = 2.6) จะเห็นว่าระบบ MPPT จะจ่ายพลังงานได้สูงกว่า 6.3W

หากคิดที่การจ่ายกระแสตอนเที่ยงวันสมมุติว่าได้ 5A ที่ แรงดัน 17.5V และ 6A เมื่อ Short Circuit หากใช้ ตัวชาร์จแบต แบบ PWM ค่ากระแสสูงสุดที่จ่ายได้ คือ 5A สมมุติว่าแบตเตอรี่มีแรงดัน 10.5V ค่าพลังงานสูงสุดที่จ่ายได้เท่ากับ 10.5V * 5A = 52.5W แต่ถ้าเป็น ระบบ MPPT ตัวชาร์จแบตจะทำการแปลงไฟจาก 17.5V ไปเป็น 10.5V ด้วยระบบ Switching ทำให้ได้กระแสเพิ่มเป็น 6.667A หรือ 10.5 * 6.667 = 70W(คิดที่ค่าประสิทธิภาพในการแปลงที่ 80%, 17.5 * 5/10.5 = 6.667) จะเห็นว่าระบบ MPPT จะจ่ายพลังงานได้สูงกว่า 17.5W

จะเห็นว่าระบบ MPPT จะรักษาระดับแรงดันให้ได้ 17.5V เพื่อให้ได้พลังงานสูงที่สุด
ทั้งหมดนี้เป็นหลักการคร่าวๆนะครับ อาจจะมีแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ใครจะออกแบบโดยใช้จุดไหนเป็นจุดหลักเพื่อให้ได้พลังงานสูงที่สุด

สำหรับ Kasettech เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการสดสอบและพัฒนาต้นแบบ โซล่าชาร์จเจอร์ สำหรับแบตเตอร์รี่ ระบบ MPPT สำเร็จเมื่อไหร่จะมารายงานผลนะครับ
 

guest

Post : 2014-03-27 09:52:10.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งนาจืด นาเค็ม ทะเลสาบนาเค็ม นาทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง นาที่มีความเป็นกรด นาพุร้อน นาทะเลบริเวณขั วโลกเหนือ นอกจากนี ยังพบตามแหล่งนาเสีย บ่อบาบัดนาเสีย บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสาคัญในกระบวนการนาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี ยังมีบทบาทสาคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนาจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี ในนาเสียจากบ้านเรือนและนาเสียจากการทาปศุสัตว์สามารถบาบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kobayashi, 2000)

หาข้อมูลจากเน็ตเลยได้ความรู้มาว่า

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มสีม่วงแดง(Purple) มีประโยชน์ต่ออาชีพเกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อมสูงมาก
ในขณะมีชีวิตอยู่เขาจะสร้างสารเร่งความเจริญเติบโตของพืช และเมื่อตายไปแล้วร่างกายของเขาจะถูกย่อยสลาย
ตามธรรมชาติกลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชสูงมาก และถ้าใช้ทางด้านสิ่งแวดล้อม
ในการบำบัดน้ำเสีย กลิ่นจะหายเร็วมาก น้ำจะค่อยๆไสขึ้น ทดลองบำบัดน้ำเสียในถัง 20 ลิตร สามารถวัดค่า BOD ได้ต่ำประมาณ +/- 20 ppm

เมื่อปี 2010 ญี่ปุ่นประกาศ การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในกลุ่มPURPLE เป็นวาระแห่งชาติ
ใน 3 แนวทาง คือ การเกษตร การปศุสัตว์ (เพื่อเพิ่มผลผลิต) และสิ่งแวดล้อม (บำบัดน้ำเสีย บำบัดกลิ่น)
ส่วนประเทศไทยเรา ไม่ทราบว่าได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติหรือยัง???

หมายเหตุ :-จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงPSB แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ GREEN และ PURPLE

เครดิต: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=98023.0

 

เห็นว่ามีประโยนช์หลายอย่างน่าจะดีเลยลองเพาะเลี้ยงเองบ้าง
ได้หัวเชื้อมาจากพี่ที่ทำงาน จัดการทดลองเาพะใส่ขวดใส่ขนาด 1.5ลิตร 3 ขวด 600cc. 3 ชวด
ทดลองทำวันที่ 26 มีนาคม 2557
 

1. เตรียมอาหารของ จุลินทรีย์
ใช้ไข่ไก่ 2 ฟองผสมน้ำปะปาแบ่งเทใส่ทั้ง 6 ขวด แล้วก็เติมน้ำเพิ่มเข้าไปเกือบเต็ม ประมาณ 90%

2. เทหัวเชื้อลงไป 30cc. ลงขวด 1.5 ลิตร และ 10cc. ลงขวด 600cc. ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน นำไปตั้งไว้ในพื้นที่ทีมีแดด 6-8 ชม.

อีก 7 วันจะมาอัพเดทข้อมูลอีกครั้งนะครับ
ตอนเปิดขวดหัวเชื้อเพื่อผสมได้กลิ่นเหม็นมากๆ ยังกะส้วมเลย

รูปถ่ายเช้าวันที่ 2 เมษายน 2557 

 

 

1